วันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

สะพานAlexandre III [งดง้าม...งดงาม]

เฮ้ ! ^O^ วันนี้มาอัพแล้ว เมื่อวานไม่ว่าง กลับมาเหนื่อยมากๆ ถ้าว่างจริงๆจะโพสต์รูปงานภาษาไทยให้นะ
ใครรอดูอยู่ก็รอนิดนึงนะ ไม่เกินวันพุธ (คงงั้น -_-") มาเข้าเรื่องมีสาระกันบ้าง เราจะพาคุณไปเที่ยวที่ที่สำคัญ

ของฝรั่งเศสอีกที่หนึ่ง
รูปนี้ถ่ายจากสะพาน เดอ ลา คงคอร์ด ซึ่งอยู่ระหว่างAssemblée Nationale ( ทำเนียบรัฐบาล ) และ Place de la Concorde แต่จริงๆคือรูปสะพาน Alexandre III
Métro : ลงที่สถานี Invalides, Assemblée Nationale
สะพาน Alexandre III สร้างในปี 1897 เพื่อเชื่อมสัมพันธภาพระหว่างฝรั่งเศสและรัสเซียและเพื่อ เป็น อนุสรณ์แก่ พระเจ้าซาร์ อเล็กซานเดอร์ที่3 แห่งรัสเซีย สะพานแห่งนี้ใช้เวลาก่อสร้างทั้งหมด 3 ปี (ค.ศ. 1897 – ค.ศ.1900 ) และทำพิธีเปิดครั้งแรกในโอกาสวัน เปิดงานมหกรรมโลกในปี ค.ศ. 1900

อีกมุมหนึ่งของสะพาน อเล็กซานเดอร์ที่3

Credit bY: Bloggang(พี่ลูกไก่)

วันพฤหัสบดีที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

Meringue [ขนมหวานโดนใจ >O<]

โอ้...วันนี้มาพร้อมสาระน่ารู้เช่นเคย มีเรื่องอาหาร(อีกแล้ว -_-")น่ากินมั่กมากมาฝากกัน คงแปลกใจใช่ไหมที่ทำไมช่วงนี้ถึงทำแต่เรื่องอาหาร เพราะว่าช่วงนี้กำลังเรียนเรื่องนี้นะสิ แต่ก็ไม่เกี่ยวหรอก ที่จริงอยากทำเอง เห็นน่ากินดี ไม่เกี่ยวกันเล้ย...-O- อ้า...มีเรื่องมาเล่าคือว่าพรุ่งนี้ที่โรงเรียนมีงานวันภาษาไทย ตอนบ่ายๆเค้าจัดงานกัน เราก็ร่วมด้วยสิ! งานนี้เราขายปาโป่ง ไม่รู้จะกำไรหรือขาดทุน -_-" แต่ก็ทำเต็มที่ >O< ถ้ามีภาพสวยๆก็จะมาโพสต์ไว้นะ ^o^ มาดูดีกว่า ว่านำอาหารอะไรมาฝาก ^ ^
วันนี้เอาขนมหวานมาฝากนะ สูตรเมอแร็งนี้ทำง่ายมาก มีแค่ส่วนผสมของไข่ขาวกับน้ำตาลและเกลือนิดหน่อย
ส่วนผสม
ไข่ 3 ฟอง เฉพาะไข่ขาว
น้ำตาลทรายขาว 190 กรัม
เกลือ ½ ช.ช.
วิธีทำ

ตีไข่ขาวกับเกลือ

ใส่น้ำตาลลงไปครึ่งหนึ่ง ตีต่อไปจนขึ้นขาว ภาษาฝรั่งเศสเขาเรียกว่า Battre les blanc d'oeufs en neige คือตีจนขาวเป็นหิมะ

ตีจนขึ้นแข็ง เมื่อยกตะกล้าตีขึ้นจะไม่หยดลง

ถ้าอยากได้สีก็ใส่สีผสมอาหาร อยากได้สีเขียว ก็เลยหยดสีผสมอาหารลงไป 3 หยด ใส่สีอื่นๆก็ได้ตามชอบ

หยอดในถาดรองกระดาษใขจะได้ไม่ติดถาดเวลาสุก อบที่ไฟ 110 องศา 1 ช.ม. เปิดประตูเตาอบแง้มๆไว้นิดนึงให้ไอน้ำได้ระบายออกไปได้

สุกแล้วก็จะได้หน้าตาแบบนี้นะ

คำศัพท์

ไข่ขาว = blanc d'oeufs
น้ำตาลทรายขาว = sucre en poudre
กระดาษใข = papier sulfurisé
เครื่องตี = fouet électrique

วันพุธที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

ศัพท์เหมือนกันหรือต่างกัน [งงจริงๆ -o-"]

อ้า... ^O^วันนี้มีคำศัพท์ฝรั่งเศสที่เขียนคล้ายกับภาษาอังกฤษ แต่ออกเสียงต่างกันมาฝากเพื่อนๆพี่ๆน้องๆกัน อ่านแล้วแยกออกไหมว่าคำไหนเป็นฝรั่งเศส ส่วนคำไหนเป็นภาษาอังกฤษ พอมีตัวอย่างดังนี้ >o<

auto auto รถยนต์
orange orange ผลส้ม
rose rose ดอกกุหลาบ
radio radio วิทยุ
table table โต๊ะ
tiger tigre เสือ
banana banane กล้วย
letter lettre จดหมาย
envelop enveloppe ซองจดหมาย
apartment appartement อพาร์ทเม้นท์ ฯลฯ


เพื่อนๆแยกออกกันใช่ไหมว่าตัวสีแดงนะ เป็นภาษาอังกฤษ ส่วนตัวสีน้ำเงินกรมท่าเป็นภาษาฝรั่งเศส
ยินดีกับเพื่อนที่ตอบถูกด้วย ^o^ แต่ใครตอบผิดก็ไม่ต้องเสียใจนะ พยายามดูหลายๆรอบก็จะรู้เอง ^ ^

วันอังคารที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

สำนวนสอนใจ [จริงหรือOoO"]

เย้...>O< ในที่สุดก็ลงเพลง La vie en rose ได้แล้ว เพลงนี้เค้าไพเราะจริงๆ อยากให้ฟังกันนะ ^o^
มาเข้าเรื่องกันดีกว่า คงรู้กันใช่ไหมว่าถ้ากลับมาเนี่ย ก็จะมาพร้อมสาระดีๆที่มีให้เพียบเลย ^O^ วันนี้มีสำนวนฝรั่งเศสที่เพราะๆมาฝากกันด้วย

คติเกี่ยวกับการคิดดี - ทำดี

“A bon vin point d’enseigne.”
สิ่งใดดีย่อมปรากฏความดีให้เห็นจนได้
“Bonne renommée vaut mieux que ceinture dorée.”
ทำดีเป็นที่ยอมรับในสังคมดีกว่ารวยเงินล้นฟ้า

ความหวังในชีวิต

“Le soleil brille pour tout le monde.”

พระอาทิตย์ย่อมส่องแสงแก่ทุกคน
“Tous les chemins ménent à Rome.”
เส้นทางทุกสายจะมุ่งสู่โรมเสมอ

ความหนักแน่น

“Le vin est tire, il faut le boire.”
สิ่งใดเกิดขึ้นต้องยอมรับและหาทางแก้ไข
“A chaque jour suffit sa peine.”
อดทนต่อทุกสิ่งที่ผ่านเข้ามาในชีวิต

วันจันทร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

Salade de pouleT [น่าหร่อยจัง>O<"]

วู้ว...^O^ ในวันนี้อาจารย์สอนเรื่องอาหารของชาวฝรั่งเศสก็เลยอยากจะทำเรื่องอาหารมั่ง ตอนที่เรียนอาจารย์สอนไปก็หิวไปด้วย เพราะในหนังสืออาหารน่ากินมั่กมาก...>O< วันนี้เรียนไปมีความสุขจังเลย
เพื่อนๆก็มีความสุข เรียนอย่างนี้บ่อยๆก็ดีเหมือนกัน เพราะเราจะเข้าใจได้ง่ายกว่าการเรียนแบบท่องจำ
โอ้... OoO นอกเรื่องเยอะแล้ว มาเข้าเรื่องอาหารน่าอร่อยๆกันดีกว่า ส่วนที่บอกว่าจะลงเพลง La vie en rose หรือชีวิตในห้วงรัก ยังไม่ว่างเลย แต่จะลงภายในอาทิตย์นี้นะ อาจจะเป็น MV นะ ไม่แน่ใจ ถ้าเป็นจริงๆ
ก็จะลงให้เหมือนกัน จะพยายามทำมานะ เข้าเรื่องๆ -O-"

สลัดไก่มันฝรั่ง
สลัดวันนี้ต้องใช้
1.มันฝรั่งต้ม
2.อกไก่ทอดในกะทะแบนน้ำมันน้อยๆ หั่นชิ้นบางๆ
3.ผักสลัดเพิ่มสีสัน ไม่ต้องมากค่ะแค่ใบสองใบก็พอ
4.ไข่ต้มหั่น 4 ชิ้น
5.มายองเนส 1 ชต.
6.วิปปิ้งครีมแบบขัน 2 ชต.
7.เกลือ พริกไทย
8.มะเขือเทศหั่นชิ้นเล็ก
วิธีทำ
ผสมมายองเนสกับวิปปิ้งครีมในชามสลัด ปรุงรสด้วยเกลือ พริกไทย ใส่ส่วนผสมทุกอย่างลงไปคลุกเคล้าให้เข้ากัน ตักใส่จาน เสริฟด้วยบาเก็ตต์ หรือขนมปังอื่นก็ได้ค่ะ
Bon Appetit

คำศัพท์

ไข่ต้ม - oeuf dur

ช้อน - cuiller cuillère [n.f.]

เกลือ -sel [n.m.]

พริกไทย - poivre [n.m.]

มะเขือเทศ - tomates

วันศุกร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

MuSiquE [กินใจ >O<]

เฮ้ ! ^o^ กลับมาแย้ว มาพร้อมสาระดีๆ ที่นี่ที่เดียว(ทำอย่างกับออกรายการ ^^") วันนี้มีเพลงมาฝากกันด้วยชื่อเพลงว่า La vie en rose เพลงนี้เป็นรักหวานจนเลี่ยนมาก แค่ชื่อก็ โอย...>O< "ชีวิตในห้วงรัก" ยิ่งตรงท่อนสร้อยที่บอกว่า เมื่อเธอกอดฉันไว้ในอ้อมแขนแล้วกระซิบข้างหูฉันเบาๆ ฉันก็เห็นชีวิตนี้เป็นสีชมพู โอ้...>o< มันช่างลึกซึ้งอะไรขนาดนี้ ก่อนที่ใครจะซึ้งไปกว่านี้ ไปอ่านพร้อมๆกันเล้ย... ^O^(เพลงจะลงทีหลังนะ)

La vie en rose

Edith Piaf

Des yeux qui font baisser les miens
Un rire qui se perd sur sa bouche
Voilà le portrait sans retouche
De l'homme auquel j'appartiens
{Refrain:}
Quand il me prend dans ses bras,
Il me parle tout bas
Je vois la vie en rose,
Il me dit des mots d'amour
Des mots de tous les jours,
Et ça me fait quelque chose
Il est entré dans mon cœur,
Une part de bonheur
Dont je connais la cause,
C'est lui pour moi,
Moi pour lui dans la vie
Il me l'a dit, l'a juré
Pour la vie.
Et dès que je l'aperçois
Alors je sens en moi
Mon cœur qui bat.
Des nuits d'amour à plus finir
Un grand bonheur qui prend sa place
Des ennuis, des chagrins s'effacent
Heureux, heureux à en mourir
{au Refrain}
{Nota: variante pour le dernier couplet:}
Des nuits d'amour à en mourir
Un grand bonheur qui prend sa place
Les ennuis, les chagrins s'effacent
Heureux, heureux pour mon plaisir

วันพฤหัสบดีที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

LovE LovE[ความรักอันหอมหวาน]

อ้า...-O-วันนี้มีสาระความรู้มากมายเช่นเคย แต่วันนี้พิเศษหน่อย เพราะวันนี้มีความรักมาฝาก>O< อ่ะๆ อย่าตกใจไป เป็นแค่ประโยคที่ให้ประโยชน์เท่านั้น แต่ใครจะนำไปใช้ก็ได้นะ เพื่ออนาคตจะได้ใช้ประโยคได้ถูก^O^
ประโยคในการบอกรัก
Je t'aime. ฉันรักเธอ
Tu es très beau. เธอหล่อเหลือเกิน
Tu es très belle. เธอสวยเหลือเกิน
Je t'adore. ฉันบูชาเธอ
Je suis amoureux de toi. ฉันหลงรักหล่อน
Je suis amoureuse de toi. ฉันหลงรักเขา
Je suis fou de toi. ฉันคลั่งไคล้หล่อนเหลือเกิน
Je suis folle de toi. ฉันคลั่งไคล้เขาเหลือเกิน

คำศัพท์เกี่ยวกับความรัก
l'amour (n.m.) ความรัก
mon petit ami แฟน(ผู้ชาย)
ma petite amie แฟน(ผู้หญิง)
mon chéri คนรัก(ผู้ชาย)
ma chérie คนรัก(ผู้หญิง)
un bouquet de fleurs ดอกไม้ 1 ช่อ
une rose ดอกกุหลาบ 1 ดอก
une boîte de chocolat ช็อคโกแล็ต 1 กล่อง


แล้ววันนี้ก็มีสำนวนมาฝากกันอีกด้วย เริ่มด้วยสำนวนคลาสสิกตลอดกาล

Je vous aime beaucoup-ฉันรักคุณมากนะ

และหลายครั้งเราห่างเหินกับคนที่เรารักก็ต้องรู้สึกคิดถึงเป็นธรรมดา ใช้สำนวนนี้เลย

Je pense beaucoup à toi-ฉันคิดถึงเธอมากนะ

และอีกสำนวนสุดโรแมนติกก็คือ

Je t'aime à l'infini-ฉันรักเธอตลอดกาล หรือ รักเธอชั่วนิรันดร์

วันนี้หวานมามากแล้ว ต้องไปก่อนที่จะเลี่ยนไปกว่านี้-O-" และวันหลังจะอัพเรื่องดีๆมีสาระนะ The end^O^

วันพุธที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

ภาพถ่ายจากฝรั่งเศส [สวยจัง>O<]

แนะนำตัวยังไงดี [ลืมๆ ^ ^"]

หวัดดีเพื่อนๆ ^O^ วันนี้กลับมาพร้อมสาระความรู้มากมายเช่นเคย เราจะพูดถึงการแนะนำตัวที่เคยเรียนมาแล้ว แต่อยากจะทบทวนความหลังกันซะหน่อย เผื่อใครลืมไปแล้ว ก็จะได้มาทวนกันอีก -O-
คำศัพท์แนะนำตัว
Comment vous appelez-vous? ก็อมม็อง วู ซับเปอร์เร- วู คุณชื่ออะไร What is your name?
Je m'appelle (votre prénom). เชอ มาแป้ล(ชื่อคุณ)
ฉันชื่อ(ชื่อคุณ) My name is (your name).
Je me présente เชอ เมอ เพค์ซ้อง (ชื่อคุณ) ฉันชื่อ(ชื่อคุณ) My name is (your name).
Je suis เชอ ซุ้ย (ชื่อคุณ) ฉันชื่อ(ชื่อคุณ) My name is (your name).
J'ai (âge) ans. เช (อายุ) ออง ฉันมีอายุ (อายุ) ปี I am ( age) years old.
Je suis thaïlandais. (homme) เชอ ซุ้ย ไต้ลองเด้ ฉันเป็นคนไทย (ผู้ชาย) I am Thai. (man)
Je suis thaïlandaise. (femme) เชอ ซุ้ย ไต้ลองแด้ส ฉันเป็นคนไทย (ผู้หญิง) I am Thai. (woman)
Je suis étudiant. (homme) เชอ ซุ้ย เอตุดิย้อง ฉันเป็นนักเรียน(ผู้ชาย) I am a student. (man)
Je suis étudiante. (femme) เชอ ซุ้ย เอตุดิย้องเตอะ ฉันเป็นนักเรียน(ผู้หญิง) I am a student. (woman)
J'habite à (la ville). ชาบิท ตา ฉันอาศัยอยู่ที่ (ชื่อเมือง) I live in (city).

วันจันทร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

Champ de Mars [น่าไปๆ >O<]

Champ de Mars และ อาคารที่เห็นด้านหลังก็คือ โรงเรียนนายทหาร ( Ecole militaire )

Champ de Mars ก็คือ สนามหญ้าเขียวขจีตรงด้านหน้าหอไอเฟล อยู่ระหว่างหอไอเฟล กับ โรงเรียนนายทหาร ( Ecole Militaire ) แต่ Champ de Mars ไม่ใช่สนามหญ้าธรรมดาๆ นะ ได้มีเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์มากมายเกิดขึ้นที่นี่ก่อนที่จะมีการสร้างหอไอเฟลซะอีก

เดิมที เนื้อที่ตรงนี้เป็นที่ราบว่างเปล่าของวัด รัฐได้เวนคืนที่ดินแห่งนี้มาเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ทางทหาร ในสมัยที่มีการก่อสร้างโรงเรียนทหารในปี ค.ศ. 1751 หลังการปฏิวัติฝรั่งเศส และพวกปฏิวัติได้ยึดคุก Bastille มาได้ 1 ปี ในวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 1790 ก็ได้มีการเฉลิมฉลอง สมาพันธ์ประชาราษฎร์ ที่ Champ de Mars แห่งนี้

ในปี ค.ศ. 1783 ได้มีการทดลองบอลลูนเป็นครั้งแรกของสองพี่น้อง Charles และ Robert Montgolfier

ในปี ค. ศ. 1787 Antoine Parmentier เภสัชกรซึ่งถูกจับเป็นเชลยศึกในสมัยที่มีการทำสงครามกับ Prussia หรือ เยอรมันในปัจจุบัน( 1756 -1763 ) และช่วงที่เขาอยู่ที่เมือง Hanovre ในฐานะเชลย เขาก็ได้รู้จักและ เรียนรู้เกี่ยวกับ มันฝรั่งซึ่งชาวฝรั่งเศสในสมัยนั้นยังไม่รู้จัก

เมื่อกลับมาฝรั่งเศสหลังสงครามในปี ค.ศ. 1763 Antoine Parmentier ก็ได้ศึกษาต่อด้านเภสัชกรรม เมื่อจบการศึกษาเขาก็ได้ทำงานที่ Hopital des Invalides ได้ศึกษาค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับมันฝรั่ง จนเป็นผู้ เชี่ยวชาญ และได้รับอนุมัติให้นำมันฝรั่งมาปลูกครั้งแรกที่ Champ de Mars เพื่อให้ชาวฝรั่งเศสได้รู้จัก ^O^

วันศุกร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

อยากเป็นคนฝรั่งเศส [ทำไง -O-]

Assemblee nationale
มาแย้ว...^O^กลับมาตามสัญญาที่ว่าจะเล่าถึงกฎหมายฝรั่งเศส แต่ขอหยิบยืมกฎหมายที่ขอสัญชาติฝรั่งเศสล่ะกัน วันนี้มีเรื่องดีๆมาเล่าคือที่โรงเรียนมีกิจกรรมวันชาติฝรั่งเศส(14 กรกฎาคมของทุกปี)เพื่อนๆห้อง 5/7
มีการเต้นประกอบเพลง และมีการร้องเพลงเดี่ยวให้ฟังด้วย(ร้องเพราะมากๆ) และมีการจัดบอร์ดด้วย ใกล้จะ งานจบ ก็แจกขนมอร่อยๆให้เพื่อเป็นของรางวัลในการจัดบอร์ดนั่นเอง งานนี้ต้องขอขอบพระคุณ คุณครู
เกรียงไกร ทองชื่นจิต ที่ถ่ายรูปกับพวกเรา และแนะนำการแสดงให้กับพวกเรา และคุณครูมนัส หรั่งเทศ ที่สนับสนุนเรื่องการแข่งขันวาดรูป และคุณครูเฉลิม บุญวรรโณ ที่มอบของรางวัลแก่พวกเราค่า...>O<

ขั้นตอนการขอสัญชาติฝรั่งเศส
ขั้นตอนการขอสัญชาติฝรั่งเศสโดยการแต่งงาน

-คู่สมรสของบุคคลที่มีสัญชาติฝรั่งเศส สามารถขอสัญชาติฝรั่งเศสได้ หลังจากแต่งงานจดทะเบียนสมรส ได้ 3 ปี และใช้ชีวิตสมรสร่วมกันจริงๆ
อันดับแรก ต้องยื่นคำขอต่อศาลในเขต ที่ผู้ยื่นขอมีทำเนาที่อยู่อาศัยอยู่ พร้อมเอกสารดังต่อไปนี้
1. สำเนาใบสำคัญการสมรส ( l’acte de mariage )
2. คำรับรองของคู่สมรสทั้งสองที่ยืนยันว่าใช้ชีวิตคู่อยู่ด้วยกัน
3. ใบรับรองสัญชาติฝรั่งเศสของคู่สมรสที่ถือสัญชาติฝรั่งเศส
4. ใบรับรองความประพฤติหรือใบรับรองการสอบประวัติอาชญากรรม ( un extrait du casier judiciaire )
5. ต้องอาศัยอยู่ในฝรั่งเศสเป็นระยะเวลาติดต่อกันอย่างน้อย 1 ปีหลังการแต่งงาน
6. ต้องมีความรู้ด้านภาษาฝรั่งเศสเพียงพอ
7. สำเนาใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว( titre de séjour )
8. กรณีที่เคยจดทะเบียนสมรสมาก่อน ต้องแสดงเอกสารการจดทะเบียนสมรสและการจดทะเบียนหย่า
9. ในกรณีที่มีบุตร ต้องแสดงสำเนาสูติบัตรของบุตรผู้เยาว์ที่ไม่ใช่ชาวฝรั่งเศส พร้อมหลักฐานการ พำนักอาศัยกับผู้ร้องขอ
-เมื่อเอกสารครบแล้ว ตุลาการศาล จะมอบใบรับรองการยื่นคำขอ ( un récépissé ) ให้แก่ผู้ขอ พร้อมกับ ยื่นเรื่องไปยังกรมตำรวจให้ดำเนินการสอบสวน เกี่ยวกับชีวิตสมรส ความประพฤติ ความรู้ด้านภาษาฝรั่งเศส จากนั้นกรมตำรวจก็จะส่งผลการสอบสวนไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการโอนสัญชาติ ขั้นตอนทั้งหมดนี้ต้องใช้เวลาประมาณ 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ได้รับใบรับรองการยื่นคำขอ
-ส่วนหนึ่งของกฎหมายใหม่เกี่ยวกับสัญชาติที่ ได้รับการโหวตเสียงยอมรับจาก Assemblée Nationale (สภาผู้แทนราษฎร ) และรอการพิจรณาจาก Sénat ( วุฒิสภา )

DISPOSITIONS RELATIVES À LA NATIONALITÉ
Article 59
Les deux premiers alinéas de l'article 21-2 du code civil sont remplacés par trois alinéas ainsi rédigés :
« L'étranger ou apatride qui contracte mariage avec un conjoint de nationalité française peut, après un délai de quatre ans à compter du mariage, acquérir la nationalité française par déclaration à condition qu'à la date de cette déclaration, la communauté de vie tant affective que matérielle n'ait pas cessé entre les époux depuis le mariage et que le conjoint français ait conservé sa nationalité. « Le délai de communauté de vie est porté à cinq ans lorsque l'étranger, au moment de la déclaration, ne justifie pas avoir résidé de manière ininterrompue et régulière pendant au moins trois ans en France à compter du mariage.« Le conjoint étranger doit en outre justifier d'une connaissance suffisante, selon sa condition, de la langue française. »
-สรุปได้ว่า คนต่างด้าวที่จดทะเบียนสมรสกับผู้ที่มีสัญชาติฝรั่งเศส สามารถขอสัญชาติฝรั่งเศสได้ หลังจากแต่งงานได้ 4 ปี
-เป็นอันว่ากฏหมายว่าด้วยคนต่างด้าวได้ประกาศใช้อย่างเป็นทางการแล้ว เมื่อ 26/7/2006
-สำหรับคนที่แต่งงานจดทะเบียนสมรสกับชาวฝรั่งเศส ก็ต้องรอถึง 3 ปี ถึงจะได้รับ « Carte de résident » และถ้าต้องการถือ สัญชาติฝรั่งเศสก็ต้องรอถึง 4 ปี
สุดท้าย ท้ายสุด ต้องขอขอบพระคุณคุณครูทุกๆท่านที่มาร่วมในงานนี้น่ะค่ะ ^o^ แล้ววันหลังจะเอารูปงานวันชาติฝรั่งเศสมาฝากน่ะ ^ ^

วันพฤหัสบดีที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

กฎหมายควรรู้ [จริงๆน่ะ >o<]

อ้า... วันนี้กลับมาพร้อมความรู้เช่นเคย เราจะพูดถึงกฎหมายฝรั่งเศสกัน แต่เป็นคำศัพท์ที่เข้ามาเกี่ยวข้องน่ะ แล้ววันหลังจะเล่าถึงกฎหมายล่ะกัน ^O^
ภาพวันนี้เป็นภาพที่เพื่อนๆคงรู้จักกันบ้าง นั้นก็คือภาพป้ายชื่อถนนชองป์เซลิเซ่ เห็นว่าเก๋ดี เลยเอามาใส่ ใครชอบก็เม้นกันมาน่ะจ๊ะ >o<

Abus (n.m) (กฎหมายทั่วไป) การละเมิด, การเอาเปรียบ หรือ กระทำเกินเหตุ
คำว่า abus หรือ action abusive หมายถึง การกระทำที่เกินเหตุ การละเมิด หรือ การเอาเปรียบ
เราจะพบคำนี้ได้ในหลายกรณี เช่น
abus du droit หมายถึง การใช้สิทธิเกินส่วน
abus de confiance หมายถึง การยักยอก
abus de domination หมายถึง การเอารัดเอาเปรียบโดยผู้ที่มีส่วนแบ่งในตลาดมากจนสามารถกำหนดทิศทางของตลาดนั้นๆได้ โดยหมายถึง การเอารัดเอาเปรียบกันระหว่างคู่แข่งขันทางการค้า หรือ Abus de position dominante และการเอารัดเอาเปรียบลูกค้า หรือ ผู้ค้ารายย่อย โดยผู้ค้าส่ง หรือ Abus de dépendance économique
abus des biens sociaux หมายถึง การที่ผู้บริหารบริษัท นำทรัพย์สินของบริษัทไปใช้ในทางมิชอบ
clause abusive หมายถึง ข้อสัญญาไม่เป็นธรรม เป็นต้น


Bien-être (n.m) สวัสดิการ (รัฐธรรมนูญ, กม. แรงงาน)
คำว่า bien être ตามปกติแล้วไม่ได้เป็นศัพท์เฉพาะทางกฎหมาย โดยจะหมายถึง ความกินดีอยู่ดี คำนี้เราจะพบบ่อยในทางเศรษฐกิจ
ในส่วนของวิชากฎหมาย เรามักจะพบคำนี้ได้ในกฎหมายแรงงาน โดยจะหมายถึง "สวัสดิการ" อย่างไรก็ดี โดยความหมายของ bien être หมายถึง สภาพความกินดีอยู่ดี อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น ดังนั้น เมื่อ จะกล่าวว่านายจ้างให้สวัสดิการแก่ลูกจ้าง เรามักจะพบประโยคว่า L'employeur assure le bien-être de ses employés.
ตัวอย่างการใช้คำนี้ เราจะพบในบทนำของรัฐธรรมนูญสาธารณรัฐที่ 4 ของประเทศฝรั่งเศสปี 1946 (
Préambule de la Constitution du 27 octobre 1946 de la IV République) ข้อ 17 ได้บัญญัติไว้ถึงการใช้ทรัพยากรและความพยายาม เพื่อพัฒนาประเทศ เพิ่มพูนความกินดีอยู่ดี (bien-être) และรักษาความสงบเรียบร้อยของชาติ
(...ปัจจุบัน ประเทศฝรั่งเศสใช้รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐที่ 5 ปี 1958 (Constitution de la V République du 4 octobre 1958) แต่บทนำของ รัฐธรรมนูญปี 1946 ยังคงถูกพิจารณาว่ามีศักดิ์เทียบเท่ากับรัฐธรรมนูญอยู่...)

Bon père de famille วิญญูชน (กม.แพ่ง)
ศัพท์คำนี้มีรากศัพท์มาจากภาษาละติน Bonus pater familias ในสมัยโรมันนั้น พ่อ (หรือหัวหน้า) ที่ดีของครอบครัว เป็นผู้ที่จัดการบริหารทรัพย์สินของครอบครัว เป็นที่น่าสังเกตว่า ชายใดที่พ่อยังมีชีวิตอยู่ ไม่ว่าจะมีอายุเท่าไหร่ก็ตาม จะไม่มีทรัพย์สินเป็นของตัวเองตามกฎหมาย
ปัจจุบัน คำว่า bon père de famille ปรากฏอยู่ในกฎหมายหลายมาตราของฝรั่งเศส ซึ่งล้วนแต่เกี่ยวพันกับการเก็บรักษา บริหาร และจัดการทรัพย์สินของผู้อื่น ด้วยความระมัดระวัง เปรียบเสมือนเป็นทรัพย์สินของตัวเอง
เช่น ในมาตรา 1728 ของประมวลกฎหมายแพ่งของประเทศฝรั่งเศส บัญญัติว่า ผู้เช่าทรัพย์ต้องใช้ทรัพย์ที่เช่าเยี่ยงวิญญูชนพึงปฏิบัติ หลักนี้ถูกใช้ในกรณีอื่นๆอีก ตามประมวลกฎหมายแพ่งของประเทศฝรั่งเศสเช่น การบริหารทรัพย์สินของผู้เยาว์โดยผู้แทนโดยชอบธรรม (มาตรา 450) และการเก็บรักษาและใช้ทรัพย์ที่ยืมมา (มาตรา 1880) เป็นต้น
คำว่า bon père de famille ในบางกรณี อาจเทียบได้กับคำว่า l'homme raisonnable หรือ l'homme droit et avisé โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อพูดถึงความรับผิดของผู้ที่สร้างความเสียหายแก่ผู้อื่นโดยไม่เจตนา


Retrait (n.m) ถอน (กม.ปกครอง)
คำว่า Retrait หมายถึง การถอนออก หรือการยกเลิก โดยมักใช้ในกรณีที่ฝ่ายบริหาร ยกเลิกคำสั่งทางปกครองของตนเอง เช่น เมื่อเราต้องการพูดว่า นายกเทศบาลได้ถอนใบอนุญาตการก่อสร้าง เราจะพูดได้ว่า Le maire a retiré le permis de construire.
นับตั้งแต่คำพิพากษาของ Conseil d'Etat, 26 octobre 2001, "Ternon" ฝ่ายบริหารสามารถถอนคำสั่งทางปกครองได้ภายใน 4 เดือนจากวันที่พิมพ์ประกาศคำสั่งนั้นๆ (เพิ่มระยะเวลาจากเดิม 2 เดือน) หลังจาก 4 เดือนแล้ว ผู้มีส่วนได้เสียไม่สามารถจะร้องต่อศาลปกครองเพื่อให้ยกเลิกคำสั่งนั้นๆโดยตรงได้ เนื่องจากจะถือว่าคำสั่งนั้นกลายเป็นคำสั่งถาวร หรือ L'acte est devenu définitif. อย่างไรก็ตาม หากในอนาคต ฝ่ายบริหารออกคำสั่งอื่นๆ ต่อเนื่องมาจากคำสั่งถาวร อันผิดกฎหมาย ผู้มีส่วนได้เสียสามารถร้องต่อศาลเพื่อให้ยกเลิกคำสั่งหลัง โดยอ้างว่าคำสั่งแรกไม่ชอบด้วยกฎหมายได้

นอกจากนั้น คำสั่งเฉพาะตัวอันไม่สร้างสิทธิ์กับตัวผู้รับคำสั่งนั้น ผู้รับคำสั่งสามารถร้องต่อศาลเพื่อขอให้ยกเลิกคำสั่งนั้นได้ โดยไม่มีกำหนดระยะเวลา

Annulation (n.f.) ยกเลิก (กม.ทั่วไป กม.แพ่ง)
Annulation หรือ การยกเลิก มักใช้เพื่อกล่าวถึงการที่ศาลตัดสินยกเลิกนิติกรรมต่างๆ เนื่องจากนิติกรรมนั้นๆ มีเหตุอันทำให้เป็นโมฆะ คำว่า โมฆะ หรือ nullité ในกฎหมายฝรั่งเศสจะต่างจากกฎหมายไทยโดย nullité มี 2 ประเภท คือ

1. nullité absolue โดยผู้มีส่วนได้เสียทุกคน รวมถึงผู้พิพากษาสามารถยกขึ้นมาอ้างเป็นเหตุในการให้ยกเลิกนิติกรรมได้ เช่น เมื่อผู้เยาว์ (mineur) หรือ ผู้ไร้ความสามารถ (incapable majeur) ทำนิติกรรมสัญญา
2. nullité relative ซึ่งเฉพาะผู้เสียหายจากเหตุนั้นๆเท่านั้น จะสามารถอ้างเหตุนั้นได้ หากไม่ได้อ้าง ศาลก็ไม่สามารถยกขึ้นมาเป็นเหตุยกเลิกนิติกรรมได้ เช่น การสำคัญผิดในสาระสำคัญ (erreur sur la qualité essentielle) เป็นต้นสามารถมีเหตุมาจากการที่ผู้ทำสัญญาเป็นผู้เยาว์ หรือผู้ไร้ความสามารถ ก็ได้
การเป็นโมฆะ หรือ nullité ก่อให้เกิดผลย้อนหลัง หรือ effet rétroactif โดยจะกลับไปสู่สถานการณ์ ก่อนเกิด นิติกรรมนั้นๆ เช่น หากสัญญาซื้อขายถูกยกเลิก ผู้ซื้อจะต้องคืนของที่ซื้อแก่ผู้ขาย และผู้ขายจะต้องคืนเงินแก่ผู้ซื้อ เป็นต้น

วันพุธที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

Temps [อดีต ปัจจุบัน อนาคต ของใคร?]

หวัดดีเพื่อนๆ วันนี้มีความรู้มาฝาก เป็นเรื่อง Temps (กาล) มาศึกษากันอีกรอบ และภาพนี้ก็คือโรงละครโอเปร่าของฝรั่งเศสซึ่งที่ฝรั่งเศสก็มีชื่อเสียงในการแสดงโอเปร่า นอกเรื่องเยอะแล้ว มาดู Temps กันเถอะ ^o^

1.Présent หรือกาลปัจจุบัน
โดยทั่วไปแล้วบอกให้รู้ว่าเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นขณะที่พูด
ฉันอาบน้ำ / Je prends une douche
ฉันหิว / J’ai faim
นอกจากนี้ le présent ยังใช้กับ ;
-เหตุการณ์หรือสิ่งที่เป็นจริงโดยทั่วไป เช่น พระอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออก / Le soleil se lève à l’est.
- ใช้ในการเล่าเรื่อง เหตุการณ์ในอดีต (บอกให้รู้ไว้เฉยๆ แต่ในชีวิตประจำวันจริงๆไม่ค่อยได้ใช้หรอกค่ะ
- ใช้กับการกระทำที่เป็นกิจวัตร เช่น เขาทานอาหารเย็นตอนสองทุ่ม / Il dîne à 8 heures.
- ใช้กับเหตุการณ์ในอนาคตที่แน่ใจว่าต้องเกิดขึ้นแน่ๆ เช่น Je reviens dans cinq minutes. / อีกห้านาทีฉันจะกลับมา

2. Passé / อดีต
2.1 Imparfait -ใช้เล่าหรือบรรยายเหตุการณ์ในอดีตโดยไม่เจาะจงเวลา เช่น เล่าเหตุการณ์สมัยเด็กๆ
Quand j’étais petite, J’habitais avec mes parents dans une petite maison au pied de la montagne, …….
สมัยที่ฉันยังเด็ก ฉันอาศัยอยู่กับคุณพ่อคุณแม่ในบ้านหลังเล็กๆใกล้ตีนเขา………
-ใช้เมื่อมีสองเหตุการณ์เกิดขึ้น ในอดีต เหตุการณ์หนึ่งกำลังดำเนินอยู่แล้วมีอีกเหตุการณ์หนึ่งเข้ามาแทรก เช่น เมื่อวานนี้ขณะที่ฉันกำลังปั่นจักรยานอยู่ ทันใดนั้นลูกหมาตัวหนึ่งก็วิ่งตัดหน้า
/Hier je roulais sur mon vélo, tout un coup un petit chien m’a coupé la route.
จะสังเกตุเห็นว่าเหตุการณ์แรกที่ใช้ Imparfait เกิดขึ้นยาวนานกว่าเหตุการณ์ที่สอง ซึ่งเกิดขึ้นแล้วก็จบทันที

2.2 Passé composé ใช้กับเหตุการณ์ในอดีตที่เกิดขึ้นและสิ้นสุดลงทันทีทันใดในเวลาที่เจาะจง
Hier soir, j’ai téléphoné à une amie. / ฉันโทรศัพท์ไปหาเพื่อนเมื่อวานนี้
Avant-hier, je suis allée au bois en vélo. เมื่อวานซืนฉันขี่จักรยานไปเที่ยวสวน.
2.3 Plus-que-parfait บอกเหตุการณ์ในอดีตที่เกิดขึ้นก่อนอีกเหตุการณ์หนึ่งในอดีตเช่นกัน และใช้กับ ประโยคเงื่อนใข ใช้น้อยค่ะ tense นี้
Si j’avais su, je ne serais pas parti./ ถ้าฉันรู้ ฉันคงไม่ไปหรอก

3.Futur / อนาคต
3.1 Futur simple บอกเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
J’irai te chercher à l’aéroport. / ฉันจะไปรับเธอเองที่สนามบิน
Je partirai en vacances le 15 juillet. / ฉันจะไปพักร้อนวันที่ 15 กรกฎาคม
3.2 Futur proche /ใช้กับ เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้
Je vais me laver. / ฉันไปอาบน้ำแล้วล่ะ
Tu vas partir ?เธอจะไปแล้วหรือ
3.3Futur antérieur / ใช้บอกเหตุการณืในอนาคตที่เกิดขึ้นก่อนอีกเหตุการณ์หนึ่งในอนาคตเช่นกัน
Dès que tu auras fini ta valise , nous partirons / เราก็จะไปกันในทันทีที่เธอจัดกระเป๋าเสร็จ

วันอังคารที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

ขำขันฝรั่งเศส [ฮ่าๆๆ ^o^"]

วันนี้มีเรื่องสนุกๆมาให้อ่านกัน เป็นเรื่องขำขันที่เป็นภาษาฝรั่งเศส เพื่อนๆอ่านแล้ว คงจะได้ความรู้ไม่มากก็น้อย เชิญอ่านกันได้เล้ย... //^O^//

หูไม่หนวก
Un enfant demande à son grand-père :
- Grand-père tu m'achètes un sandwich au jambon ?
- Quoi ?
- Tu peux m'acheter un sandwich au jambon ?crie le petit.
- Ne crie pas si fort, je suis pas sourd. Vanille ou fraises ?

เด็กชายบอกคุณตาของเขา
« คุณตาคับ ซื้อแซนวิชแฮมให้ผมชิ้นนึงได้มั้ยคับ »
« อะไรนะ »
« คุณตาซื้อแซนวิชแฮมให้ผมชิ้นนึงได้มั้ย » เด็กชายตะโกนเสียงดังขึ้น
« เอ็งไม่ต้องตะโกนเสียงดังอย่างนั้นหรอก ข้าไม่ได้หูหนวกซักหน่อย !
จะเอารสวานิลาหรือสตรอเบอรี่ล่ะ »

อายุคุณยาย

C'est une petite fille qui est avec sa grand mère et elle lui demande:
- dis mamie t'as quel âge toi?
Sa grand mère lui répond:
- Ah ben, tu sais je suis trés vieille et je ne me rappelle plus!
La petite fille lui répond :
- Tu n'as qu'à faire comme moi: je regarde dans ma culotte et il y a écrit 6 ans!"

หลานสาวซึ่งอยู่กับคุณยาย ได้ถามขึ้น
"คุณยายคะ คุณยายอายุเท่าไหร่แล้วค๊ะ"
คุณยายก็ตอบว่า
"เอ่อ...ยายรู้นะว่ายายน่ะแก่มากแล้ว จำไม่ได้แล้วล่ะ"
หลานสาวก็เลยตอบว่า
"คุณยายก็ทำอย่างหนูซิคะ หนูดูในกางเกงใน เนี่ยเขียนว่า 6 ขวบ"

ทิ้งท้ายด้วยรูปภาพสวยๆจากฝรั่งเศส

วันจันทร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

Flan [ขนมน่ากินจัง >O<]

Flan
ส่วนผสม - Ingrédient
1. ไข่ 3 ฟอง เฉพาะไข่แดง – Jaune d’œufs
2. แป้งทาร์ตสำเร็จรูป – Pâte brisée
3. แป้งสาลี 60 กรัม - Farine de blé
4. แป้งข้าวโพด 30 กรัม – maïzena
5. นม 700 มิลลิลิตร - Lait
6. น้ำตาล 130 กรัม – Sucre en poudre
7. กลิ่นวานิลา – Extrait de vanille

วิธีทำ
1.ต้มนมพอเดือดใส่วานิลาลงไปซัก 2-3หยด
2. ตีไข่แดงกับน้ำตาล
3. ใส่แป้งสาลีและแป้งข้าวโพดที่ร่อนรวมกัน
4. เติมนมเย็นลงไปนิดนึง ตีต่อไปเรื่อยๆจนส่วนผสมทุกอย่างเข้ากันดี
5. เติมนมร้อนลงไปครึ่งหนึ่ง ตีไปเรื่อยๆ

6. เติมนมร้อนที่เหลือลงไป แล้วเอาไปตั้งไฟ คนต่อไปจนแป้งจับตัวกัน ถึงตอนนี้จะเมื่อยแขนหน่อย เพราะต้องออกแรงคนมากขึ้นหน่อย กวนจนแป้งข้น

7.เทแป้งลงในพิมพ์ที่รองแผ่นแป้งทาร์ตไว้แล้ว อย่าลืมเจาะรูระบายอากาศ

8.อบที่ 180 องศา 1 ชม.

9.เอาออกมาวางไว้ให้เย็น

10. สำหรับทาหน้าให้แวววาวน่าทานขึ้น ละลายน้ำตาล 2 ชต.กับน้ำครึ่งแก้วและผงวุ้น ½ ชช. ไม่ใส่ผงวุ้นเยอะ เพราะไม่งั้นจะกลายเป็นวุ้นแข็งไปเลยค่ะ ต้มให้เดือด พักไว้ให้พออุ่นแต่อย่าให้เย็น ไม่งั้นวุ้นจะแข็งตัวเสียก่อน

11. ราดหน้าขนมให้ทั่ว ใช้แปรงขนมช่วยก็ได้ ทาตรงขอบแป้งด้วยนะคะ เสร็จแล้วก็พักไว้ให้วุ้นแข็งตัว

วันศุกร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

Familles de Mots ตระกูลคำศัพท์ภาษาฝรั่งเศส

หวัดดี ^O^ คราวนี้มาทักทายกันหน่อยน่ะ มีเรื่องเกี่ยวกับฝรั่งเศส จะมาให้ดูกัน
วันนี้มีคำศัพท์ที่น่าสนใจมาฝากกันด้วย >o<
accepter (อัก-แซป-เต) (v) = ยอมรับ
* accepter qqn, qqch : - Elle a accepté Laurent pour époux.
* accepter de (+ infinitif) : - Elle accepte de venir à ma fête.
* s'accepter = ยอมรับตนเอง : - Il faut s'accepter tel qu'on est.
* accepter que (+ subjonctif) - Je n'accepte pas que tu sois toujours en retard !
acceptation (n.f) = การยอมรับ : - Avant de pouvoir commencer, il faut obtenir
acceptable (adj) = ที่ยอมรับได้ : - Sa proposition est acceptable.
inacceptable (adj) = ที่ไม่อาจยอมรับได้ : - Une telle proposition est inacceptable!
admettre (v)[อัต - แมต(เตรอ)]= ยอมรับ, รับเข้ามา, ให้เข้ามาได้
* admettre que (+ ind. ou + subj.) :- J'admets que tu as( tu aies) raison.
* ne pas admettre que (+ subj.) :- Je n'admets pas qu'on soit toujours en retard.
* Admettons, Admettez, En admettant que (+ subj.) = สมมติว่า :-
admissible (adj) = ที่ยอมรับได้ :- Tes raisons sont admissibles.
inadmissible (adj) = ที่ยอมรับไม่ได้ :- C'est une réponse inadmissible.
และวันนี้ก็มีสำนวนมาฝากกันด้วย
ภาษาฝรั่งเศส
“Il faut tourner sa langue sept fois dans la bouche avant de parler.”
ภาษาอังกฤษ
“Speak clearly, if you speak at all, carve every word before you let it fall.”
พูดให้ดังฟังให้ชัดถนัดโสด จะพูดให้ได้ประโยชน์ทุกสิ่งสรรพ์
ต้องขัดเกลาถ้อยคำที่จำนรรจ์ อย่าหุนหันพูดไปก่อนไตร่ตรอง
การพูดต้องดูกาลเทศะ
ความจริงเป็นสิ่งไม่ตาย แต่คนพูดความจริงตายมานักต่อนักแล้ว
ภาษาฝรั่งเศส
“Toute la vérité n’est pas bonne à dire.”
ความจริงบางอย่างไม่พูดจะดีกว่า
“Il n’y a que la vérité qui blesse.”
คำท้วงติงเป็นสิ่งที่ดี (การพูดความจริงมักเสียดแทงใจ แต่ถ้าเจตนาดีควรรับฟังเพื่อแก้ไข)
ภาษาอังกฤษ
“I have never in my life learned anything from any man who agreed with me.”
ถ้าเราพูด-ทำอะไรคนไม่ขัด สารพัดจะเห็นดีงามตามทุกอย่าง
เราก็ไม่เรียนรู้เพิ่มเติมสักทาง คนขัดบ้างจึงจะเสริมเพิ่มปัญญา
ภาษาฝรั่งเศส
“Petite pluie abat grand vent.”
ฃ คำพูดอันมีค่าเพียงคำเดียวทำให้เรื่องใหญ่ๆสงบได้
ภาษาอังกฤษ
“Write down the advice of friend, Who loves you, though you like it or not.”
จงจดจำคำตักเตือน ของเพื่อนดีที่รักท่าน
ชอบหรือไม่คำเตือนนั้น เมื่อนานวันอาจเห็นคุณ
ภาษาฝรั่งเศส
“On reconnaît l’arbre à ses fruits.”
คำพูดที่มีค่ากาลเวลาพิสูจน์ทัน
ภาษาอังกฤษ
“Kind words are like honey-sweet taste and good for the health.”
พูดเพราะเปรียบเทียบน้ำผึ้ง รสหวานซึ้งตรึงจิตใจ
เสริมสร้างสุขภาพให้ ชุ่มชื่นใจภัยไม่มี

วันพฤหัสบดีที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

Château de Versailles(พระราชวัง หรู้ หรู ^o^)

Le château de Versailles fut la résidence des rois de France Louis XIII, Louis XIV, Louis XV et Louis XVI. Il est situé à l'ouest de Paris, dans la ville de Versailles, France. Ce château est devenu un symbole de l'apogée de la royauté française. La grandeur des lieux se voulait à l'image de celle des rois successifs. Le château de Versailles comprend de nombreux éléments :

Le château à proprement parler, consitué d'une succession d'éléments ayant une harmonie architecturelle. Il s'étale sur 67 000 m² et comprend plus de 2 000 pièces
Le
parc du château de Versailles s'étendant sur 815 ha (8000 avant la Révolution) dont 93 ha de jardins. Il comprend de nombreux éléments dont
Le
Petit Trianon et le Grand Trianon
Le
Hameau de la Reine
Le Grand et le Petit Canal
Une
orangerie
La
pièce d'eau des Suisses

Aux origines du lieu [modifier]
C'est en
1038 qu'apparaît la première mention de Versailles, dans une carte de l’abbaye Saint-Père de Chartres. Hugo de Versaillis est l’un des signataires. Au Xe siècle, des moines défrichent le terrain et fondent l’église prieuré de Saint-Julien.
En
1429, deux seigneurs, Guy et Pierre de Versailles, sont mêlés à la vie de Jeanne d’Arc. Pierre était à Bourges, quand on examina la Pucelle ; quant à Guy, chanoine de Tours, il participa au procès de Jeanne d’Arc. À la fin de la guerre de Cent Ans, le petit bourg se présentait dans un triste état : ses maisons pillées et dévastées sont abandonnées, et le château est en ruine. C’est la famille de Soisy qui relève les bâtiments détruits qui sont composés d’un corps de logis principal et d’une aile en retour, précédés d’un portail encadré de deux tourelles.
Le nom d’un petit bourg, Versaille-aux-bourg-de-Galie, apparaît dans un texte daté de 1472. Les seigneurs de Versailles relevaient directement du Roi. Leur modeste château dominant l’église et le village se dressait sur la pente méridionale de la butte sur laquelle sera construit le futur château.
En
1475, Gilles de Versailles, seigneur de Versailles, cède ses droits sur Trianon à l’abbé de Saint-Germain. L’acte de vente est la première mention de ce nom. Trianon était un village acheté puis détruit par Louis XI dans le but de construire sur ces nouvelles terres du domaine royal une maison à collationner. Cherchant à fuir en famille le protocole trop pesant de Paris, le roi était à Trianon plus proche des siens. Premier caprice royal de Versailles, Trianon, comme plus tard Marly, demeure un lieu de détente, loin de l’étiquette et des fatigues du pouvoir.
En
1561, le domaine est vendu à Martial de Loménie, secrétaire des finances de Charles IX, qui l’agrandit pour atteindre 150 hectares...
En
1572 : le 24 août, Loménie est assassiné la nuit de la Saint-Barthélemy. L’Estoile rapporte dans ses Mémoires que la reine Catherine de Médicis « fit étrangler, dans l’intérêt du comte de Retz, pour lui faire avoir le château de Versailles, le secrétaire d’État Loménie, qui en était possesseur. » Ce crime n’est peut-être pas authentique, mais il n’est pas invraisemblable.
L'année suivante,
Albert de Gondi (baron de Marly), comte de Retz, un des Florentins qui accompagnent Catherine de Médicis en France, devient propriétaire du château et de la seigneurie de Versailles en rachetant le domaine pour 35 000 livres.
En
1589, un mois avant qu’il ne devienne roi de France, le roi de Navarre séjourne à Versailles. Revenant de Blois, il s’y arrête du 7 au 9 juillet et est reçu par Albert de Gondi ; il y retourne en 1604 et 1609. Entre temps, en 1607, le dauphin, qui deviendra Louis XIII, fait sa première chasse à Versailles.
En
1616, Albert de Gondi cède la seigneurie à son fils Jean-François de Gondi.

Versailles sous l'Ancien Régime [modifier]

Aux origines du château : Louis XIII [modifier]
le Vieux Château [modifier]
En
1623, Louis XIII, le père de Louis XIV, construisit au milieu des forêts et au sommet d’une butte cernée par des marais insalubres, un modeste logis en brique, pierre et ardoise. S’il constituait son rendez-vous de chasse favori, il ne formait pourtant qu’une construction rustique et purement utilitaire. La disposition de ses pavillons, et des fossés qui l’entouraient, rappelait encore certaines constructions féodales.
Louis XIII bâtit cette nouvelle habitation sur un terrain qu’il acheta à Jean de Soisy, dont la famille était propriétaire depuis le
XIVe siècle. Dans sa petite demeure, Louis XIII recevait de temps à autre sa mère Marie de Médicis et son épouse Anne d’Autriche. Elles ne faisaient qu’y passer sans jamais y coucher .
Le premier "château" de Versailles s’élevait au fond de l’actuelle cour de marbre. Le corps de logis principal mesurait 24 mètres de long sur six de profondeur et se limitait de chaque côté à deux ailes basses. L’appartement du roi comprenait une petite galerie où était accroché un tableau représentant le siège de
La Rochelle. Puis, venaient quatre pièces dont les murs étaient couverts de tapisseries. La chambre du roi occupait le centre de l’édifice, emplacement qui correspondra par la suite avec celui du lit de Louis XIV.
Le 11 novembre
1630, le cardinal de Richelieu se rendit secrètement à Versailles dans le but de convaincre le roi qu’un complot était fomenté par la reine-mère. Cet événement sera connu, plus tard, sous le nom de Journée des Dupes. Richelieu resta Premier ministre et la reine-Mère fut exilée.

1631-1634 Premier agrandissement [modifier]
Le 8 avril
1632, Louis XIII rachetait le domaine de Versailles à Jean-François de Gondi, archevêque de Paris, oncle du cardinal de Retz et héritier d’Albert. Voici un extrait de ce dernier contrat de vente :
« Le 8 avril 1632, fut présent l’illustrissime et révérendissime Jean-François de Gondi, archevêque de Paris, seigneur de Versailles, reconnoît avoir vendu, cédé et transporté... à Louis XIII, acceptant pour Sa Majesté, messire Charles de l’Aubespine, garde des sceaux et chancelier des ordres du roi, et messire Antoine Rusé, marquis d’Effiat, surintendant des finances, etc., la terre et seigneurie de Versailles, consistant en vieil château en ruine et une ferme de plusieurs édifices ; consistant ladite ferme en terres labourables, en prés, bois, châtaigneraies, étangs et autres dépendances ; haute, moyenne et basse justice... avec l’annexe de la grange Lessart, appartenances et dépendances d’icelle, sans aucune chose excepter, retenir, ni réserver par ledit sieur archevêque, de ce qu’il a possédé audit lieu de Versailles, et pour d’icelle terre et seigneurie de Versailles, et annexe de la grange Lessart, jouir par Sadite Majesté et ses successeurs rois, comme de choses appartenantes. Cette vente, cession et transport faits, aux charges et devoirs féodaux seulement, moyennant la somme de soixante-mille livres tournois, que ledit sieur archevêque reconnoît avoir reçues de Sadite Majesté, par les mains de..., en pièces de seize sous, de laquelle somme il se tient content, en quitte Sadite Majesté et tout autre, etc. » (Architexture françoise, par Blondel, liv. VII, p. 93)
Le Roi ne fit l’acquisition de ce château que pour le démolir et ainsi étendre le panorama de la résidence royale. D’après une tradition, au sommet du plateau de Versailles, à la place même du château actuel, se dressait un moulin à vent : un meunier régnait où régna Louis XIV. Dans le même temps, le roi acheta de nouveaux terrains et étendit ses terres de chasses. Le pavillon bâti à la hâte sur les terres de Jean de Soisy, devenait étriqué.Le 26 mai débutèrent des travaux d’agrandissement qui furent dirigés par l’ingénieur-architecte
Philibert Le Roy.
Les travaux furent achevés en 1634 et Louis XIII prit possession de ses nouveaux appartements.
À partir de
1636, le roi multiplia ses séjours et profita du confort de sa nouvelle maison ainsi que de l’agrément de ses jardins. Le nouveau château reçut sa première décoration florale ; les jardins furent agencés "à la française" par Boyceau et Menours, décorés d’arabesques et d’entrelacs.
En
1643, sentant sa mort approcher, Louis XIII déclara : « Si Dieu me rend la santé, sitôt mon dauphin en âge de monter à cheval et en âge de majorité je le mettrai à ma place, et me retirerai à Versailles avec quatre de nos pères pour m’entretenir de choses divines ». Le 14 mai, il rendit l’âme. Versailles cesse alors d'être une résidence royale pendant presque dix-huit ans.


Credit by:http://fr.wikipedia.org/wiki/Ch%C3%A2teau_de_Versailles

ภาคภาษาไทยโดย:http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%8B%E0%B8%B2%E0%B8%A2

วันพุธที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

L'article partitif (หลักไวยากรณ์ มีสาระ -_-*)

เฮ้อ... -o-" วันนี้เรียนฝรั่งเศสเรื่อง L'article partitif เรื่องคำนำหน้าคำนามที่ระบุว่าเป็นเพียงบางส่วน
[= some ในภาษาอังกฤษ] นั่นเอง แรกๆไม่ค่อยเข้าใจเท่าไรนัก แต่พอให้เพื่อนอธิบายก็พอเข้าใจ ฉะนั้นวันนี้ก็เลยถือโอกาส >o< ทำเรื่องนี้เลยก็แล้วกัน มาม่ะมาดูกันเล้ย...


Article partitif
En grammaire, un article partitif est une sous-catégorie de déterminant indéfini, plus proche de l'article indéfini singulier, employée devant les noms exprimant une quantité massive (les linguistes parlent également de notion continue), c'est-à-dire une partie d'un référent (l'objet dont on parle), ne pouvant être comptée.
Tout comme l'article indéfini, l'article partitif participe à
l'actualisation du nom noyau en indiquant simplement que le représenté (le référent) existe bien, mais demeure inconnu des actants de l'énonciation. Ainsi, il s'oppose lui aussi à l'article défini.

Article partitif singulier [modifier]
Du point de vue
morphologique, l'article partitif singulier est le même que l'article défini singulier précédé de la préposition « de » :
- Forme masculine contractée : « du » ;
- Forme féminine : « de la » ;
- Forme
épicène : « de l' » (devant un mot commençant phonétiquement par une voyelle) :
Je bois du lait, de l'orgeat, de la grenadine et de l'eau.
On notera que les formes « de la » et « de l' » sont des
composés flexionnels détachés.
Le nom actualisé par l'article partitif désigne généralement un
inanimé (du sable). S'il désigne un animé (un animal plus qu'un humain), il transforme celui-ci en matière consommable, en viande de boucherie :
Un veau [article indéfini] ; le veau [article défini] ; du veau [article partitif].

Article partitif pluriel [modifier]
Désignant une partie non comptable d'un ensemble continu, l'article partitif ne devrait normalement connaître que le singulier.
Cependant, lorsque le nom concerné n'existe qu'au pluriel, on utilise la forme
épicène de l'article indéfini pluriel « des », elle-même calquée sur l'article défini pluriel précédé de la préposition « de » (forme contractée, encore une fois) :
Des archives, des cendres, des décombres, des rillettes, des ténèbres, des vivres…
En dehors des cas particuliers ci-dessus, un
syntagme actualisé par un article partitif singulier ne peut se mettre au pluriel qu'au prix d'une modification sémantique :
Par exemple, « des eaux » est le pluriel de « une eau », et non pas celui de « de l'eau », qui normalement n'en possède pas.
Notons que l'article partitif pluriel est presque toujours converti en « de » par un verbe à la forme négative :
Il mange des rillettes / Il ne mange jamais de rillettes.
Malgré leur forme identique, l'article partitif et l'article défini précédé de la préposition « de » ne doivent pas être confondus :
Je parle de l'eau. / Je veux de l'eau.
Dans le premier exemple, « de l' » est l'article défini précédé de la préposition « de » (« eau » est donc C.O.I. du verbe « parle »). Dans le second, « de l' » est un article partitif (« eau » est donc C.O.D. du verbe « veux », puisqu'il n'y a pas de préposition).


Credit by:http://fr.wikipedia.org/wiki/Article_partitif

วันอังคารที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

Poisson (เรื่องของปลา คนไม่เกี่ยว)

IDENTIFICATION
Le corps du congre est serpentiforme. La partie supérieure est presque cylindrique et se comprime à partir de l’anus. La tête est étroite à la hauteur des yeux. La bouche est grande, ses lèvres épaisses s’allongent jusqu’au niveau des yeux. La dentition est puissante. Une rangée de longues incisives précède des dents coniques très acérées puis les molaires. Sa mâchoire supérieure est un peu en avant de sa mâchoire inférieure. Le museau porte une indentation au niveau de la narine antérieure. La narine postérieure est un pore à peine visible au niveau de l’oeil.Sa taille peut aller jusqu’à 3 mètres pour les femelles et 1 mètre pour les mâles pour un poids de 100 kg maximum (35 kg pour les mâles). La robe varie selon le sexe et l’âge des congres, elle est généralement grise ou noirâtre s’éclaircissant sur le ventre. Sa peau est épaisse et visqueuse. Le congre se caractérise par une nageoire unique tout le long du corps et des nageoires pectorales s’insérant loin derrière l’opercule branchiale.


DISTRIBUTION-HABITAT
On le trouve sur toutes nos côtes méditerranéennes jusque dans la partie occidentale de la Mer Noire et en Atlantique, de la Norvège au Sénégal.
Sa répartition benthique peut descendre jusqu’à plusieurs centaines de mètres au delà du plateau continental. Les femelles descendent plus profondément que les mâles.



COMPORTEMENT-REPRODUCTION
Ce poisson habite les fonds littoraux rocheux (tombant, faille, jetée, éboulis, épave). Caché la journée, il sort la nuit pour chasser. Il se nourrit de poissons, céphalopodes et crustacés. Il ne craint pas particulièrement l’homme. Il vient même facilement vers les plongeurs qui le nourrissent.
La femelle du congre ne fraye qu’une seule fois l’été, à grande profondeur, et meurt ensuite par décalcification. Elle pond entre 3 et 8 millions d’oeufs.

TECHNIQUE DE CHASSE
C’est une proie "trop" facile pour le chasseur lorsqu’on sait où le trouver à trou. Il faut le tuer franchement avant de la mettre à l’accroche-poisson car sa morsure est infectieuse. Le voir n'est cependant pas donner à tout le monde, le tirer correctement au fond de son trou n'est pas toujours aussi évident et l'en sortir est une autre paire de manches.
Sa chair est savoureuse à condition de ne conserver que la partie supérieure jusqu’à l’anus, le reste étant bourré d’arêtes! Prendre soin de le peler pour le préparer car ses sécrétions sont nauséabondes.

วันจันทร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

Pain (ขนมปัง น่ากินจัง >O<)

Le pain est un aliment de base dans de nombreuses sociétés humaines. Il est fabriqué à partir de farine, de levure ou levain, de sel et d'eau. La pâte du pain est soumise à un gonflement (pâte levée) dû à la fermentation, c'est ce qui caractérise le pain par rapport à la galette. La farine provient principalement de céréales panifiables : blé et seigle. On peut y adjoindre, en quantité modérée des farines d'autres provenances : autres céréales (orge, maïs), châtaigne, noix… En effet, les céréales panifiables se caractérisent par la présence de gluten, ensembles de protéines aux propriétés élastiques qui permettent d'emprisonner les bulles de gaz carbonique dégagées par la fermentation . C'est ce qui permet la levée de la pâte.